สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงาน รายปี 2558
(มกราคม – ธันวาคม 2558) มีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
สภาพเศรษฐกิจ
สำนักงานคลังจังหวัดฉะเชิงเทรา รายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดรายปี 2558 พบว่า อุตสาหกรรม ที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ 1) สาขาอุตสาหกรรม (ร้อยละ68.84ของGPP) 2) เกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ (ร้อยละ 7.73 ของGPP) 3) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ ฯ (ร้อยละ 6.65 ของGPP) ซึ่งพบเศรษฐกิจจังหวัดฉะเชิงเทราจะขยายตัวร้อยละ 5.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ไว้ร้อยละ 3.4 – 7.2) ฟื้นตัวจากปี 2557 ที่หดตัวร้อยละ 3.3 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากด้านอุปสงค์ที่คาดว่าจะขยายตัวจากการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐ
ดัชนีราคาผู้บริโภค
ปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เท่ากับ 100 เดือนธันวาคม 2558 เท่ากับ 105.74 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2558 เท่ากับ 106.15 ลดลงร้อยละ 0.39 ถ้าเทียบกับเดือนธันวาคม 2557 ลดลงร้อยละ 0.85 เทียบเฉลี่ยปี 2558 กับเฉลี่ยปี 2557 ลดลงร้อยละ 0.90
ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดฉะเชิงเทราเดือนธันวาคม 2558
ปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดฉะเชิงเทรา เท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2558 เท่ากับ 106.3 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2558 เท่ากับ 106.8
3. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดฉะเชิงเทราเดือนธันวาคม 2558 เมื่อเทียบกับ
3.1 เดือน พฤศจิกายน 2558 ลดลงร้อยละ 0.5
3.2 เดือน ธันวาคม 2557 ลดลงร้อยละ 0.7
3.3 เทียบเฉลี่ยปี 2558 กับเฉลี่ยปี 2557 ลดลงร้อยละ 1.8
ปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดฉะเชิงเทรา เท่ากับ 100 และเดือนธันวาคม 2558 เท่ากับ 106.3 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2558 เท่ากับ 106.8
3. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดฉะเชิงเทราเดือนธันวาคม 2558 เมื่อเทียบกับ
3.1 เดือน พฤศจิกายน 2558 ลดลงร้อยละ 0.5
3.2 เดือน ธันวาคม 2557 ลดลงร้อยละ 0.7
3.3 เทียบเฉลี่ยปี 2558 กับเฉลี่ยปี 2557 ลดลงร้อยละ 1.8
การจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่
จังหวัดฉะเชิงเทรามีการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่ รายปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม) ทั้งสิ้น 420 ราย แบ่งเป็นบริษัทจำกัด จำนวน 301 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำนวน 119 ราย อุตสาหกรรมที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1.) การขายส่ง การขายปลีก ฯ จำนวน 128 ราย 2.) การก่อสร้าง จำนวน 106 ราย 3.) การผลิต จำนวน 67 ราย
การจดทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรม
สำหรับการจดทะเบียนโรงงานใหม่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า มีการจดทะเบียนรวม 52 แห่ง ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมอื่นๆ จำนวน 4 แห่ง เงินลงทุน 4,856,627,105 บาท 2) อุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 9 แห่ง จำนวน 1,635,200,000 บาท 3) อุตสาหกรรมการขนส่ง จำนวน 5 แห่ง เงินลงทุน 1,154,627,105 บาท
สถานการณ์ด้านแรงงาน
ประชากรและกำลังแรงงาน
จังหวัดฉะเชิงเทรามีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 634,301 คน เป็นชาย จำนวน 309,678 คน หญิง จำนวน 324,623 คน ผู้อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด จำนวน 431,111 คน ผู้มีงานทำ จำนวน 425,127 คน คิดเป็นร้อยละ 98.61 ผู้ว่างงานจำนวน 5,418 คน คิดเป็นร้อยละ 1.26 ส่วนผู้รอฤดูกาล จำนวน 566 คน คิดเป็นร้อยละ 0.13
การว่างงาน
สำหรับผู้ว่างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 5,418 คน เป็นเพศชาย 3,625 คน เป็นเพศหญิง 1,793 คน พบว่ามีอัตราการว่างงาน ร้อยละ 1.26
การมีงานทำ
อุตสาหกรรมหรือประเภทกิจกรรมของผู้มีงานทำในจังหวัดฉะเชิงเทรา 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) การผลิต จำนวน 127,282 คน (ร้อยละ 29.94) 2) การเกษตรกรรม การป่าไม้และการประมง จำนวน 106,607 คน(ร้อยละ 25.08) 3) การขายส่ง การขายปลีกการซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน จำนวน 58,044 คน (ร้อยละ 13.65) 4) โรงแรมและภัตตาคาร จำนวน 32,506 คน (ร้อยละ7.65) และ 5) การก่อสร้าง จำนวน 16,168 คน (ร้อยละ 3.80)
แรงงานนอกระบบ
สำหรับแรงงานนอกระบบ พบว่าในปัจจุบันผู้มีงานทำอยู่ในแรงงานนอกระบบ มีจำนวน 202,282 คน คิดเป็นร้อยละ 47.38 ของผู้มีงานทำ
เมื่อพิจารณาจำแนกตามประเภทอุตสาหกรรม พบว่าแรงงานนอกระบบในภาคการเกษตร ได้แก่ เกษตรกรรม การล่าสัตว์และป่าไม้ จำนวน 103,004 คนร้อยละ 24.13 ส่วนอุตสาหกรรมที่จำนวนแรงงานนอกระบบนอกภาคเกษตรกรรมสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1) การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ ฯ จำนวน 42,815 คน (ร้อยละ 10.03) 2)โรงแรม และภัตตาคาร จำนวน 19,887 คน (ร้อยละ 4.66) 3)กิจกรรมบริการอื่นๆ จำนวน 10,827คน (ร้อยละ 2.54) 4) การผลิต จำนวน 8,622 คน (ร้อยละ 2.02) 5) การก่อสร้าง จำนวน 6,102 คน (ร้อยละ1.43)
การบริการจัดหางานในประเทศ
จังหวัดฉะเชิงเทราในช่วงรายปี (มกราคม – ธันวาคม 2558) มีตำแหน่งงานว่างที่แจ้งผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 3,794 อัตรา ในส่วนของผู้ลงทะเบียนสมัครงานมีจำนวน 7,911 คน ขณะที่ผู้ได้รับการบรรจุงาน มี จำนวน 3,960 อัตรา
แรงงานต่างด้าว
จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา รายปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม) มีจำนวนทั้งสิ้น 23,699 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ได้แก่ พม่า กัมพูชา และลาว โดยเป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา จำนวน 17,086 คน ร้อยละ 72.10 รองลงมาเป็นสัญชาติพม่า จำนวน 4,239 คน ร้อยละ 17.89 และสัญชาติลาว จำนวน 2,374 คน ร้อยละ 10.01
แรงงานไทยในต่างประเทศ
แรงงานในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ได้รับอนุญาตเดินทางไปทำงานต่างประเทศ รายปี 2558 พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 286 คน และหากพิจารณาวิธีการเดินทางพบว่าอันดับสูงสุดเป็นประเภท Re – Entry จำนวน 158 คน ร้อยละ 55.24 รองลงมาเป็นนายจ้างพาไปฝึกงาน จำนวน 98 คน ร้อยละ 34.27 นายจ้างพาไปทำงาน จำนวน 26 คน ร้อยละ 9.09
การพัฒนาศักยภาพแรงงาน
สำหรับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน รายปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม) พบว่ามีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานทั้งสิ้น 2,299 คน พิจาณาตามกลุ่มอาชีพ พบว่า กลุ่มธุรกิจและบริการ จำนวน 1,819 คน ร้อยละ 79.12 มีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จำนวน 1,655 คน ร้อยละ 77.88 รองลงมาเป็นช่างเครื่องกล จำนวน 212 คน คิดเป็นร้อยละ 9.22 มีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จำนวน 212 คน ร้อยละ 9.98 และช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 119 คน ร้อยละ 5.76 มีการฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน จำนวน 119 คน ร้อยละ 5.6
ส่วนการฝึกเตรียมเข้าทำงานในจังหวัดฉะชิงเทรา พบว่ารายปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม) มีการฝึกเตรียมเข้าทำงานจำนวนทั้งสิ้น 30 คน พบว่า กลุ่มอาชีพที่มีการทดสอบมากที่สุด คือ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.67 มีผู้ผ่านการฝึกเตรียมเข้าทำงาน จำนวน 11 คนคิดเป็นร้อยละ 91.67 และช่างเครื่องกล จำนวน 13 คน มีผู้ผ่านการฝึกเตรียมเข้าทำงาน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 8.33
ส่วนการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน รายปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม) มีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จำนวนทั้งสิ้น 551 คน พบว่า กลุ่มอาชีพที่มีการทดสอบมากที่สุด คือ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 322 คน คิดเป็นร้อยละ 60.25 มีผู้ผ่านการฝึกทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ40.08 รองลงมาเป็นช่างอุตสาหการ จำนวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 19.42 มีผู้ผ่านการฝึกทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 16.34 และช่างเครื่องกล จำนวน 91 คน ร้อยละ 16.51 มีผู้ผ่านการฝึกทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จำนวน 91 คน ร้อยละ 40.08
การคุ้มครองแรงงาน
สำหรับรายปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม ) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการตรวจแรงงานสถานประกอบการทั้งสิ้น 384 แห่ง มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจหรือได้รับการคุ้มครอง รวม 384 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจมากที่สุดคือสถานประกอบการ ขนาด 20 – 49 คน จำนวน 82 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 82 รองลงมาเป็นสถานประกอบการขนาด 10 – 19 คน จำนวน 67 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 17.45 และขนาดสถานประกอบการ 5 – 9 คน จำนวน 66 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 17.19 ในส่วนผลการตรวจพบว่าสถานประกอบการส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 365 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 95.05 ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 19 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 4.95
รายปี 2558 (มกราคม – ธันวาคม) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทราได้ดำเนินการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการประเภทอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 296 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจทั้งสิ้น 272 คน ซึ่งสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจมากที่สุดคือสถานประกอบการขนาด 20 – 49 คน จำนวน 101 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 34.12 รองลงมาเป็นสถานประกอบการขนาด 10 – 19 คน จำนวน 95 แห่งคิดเป็นร้อยละ 32.09 และขนาดสถานประกอบการ 5 – 9 คน จำนวน 36 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 18.16 ในส่วนผลการตรวจพบว่าสถานประกอบการส่วนใหญ่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย จำนวน 272 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 91.89 ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จำนวน 24 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 8.11
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทราได้รับการแจ้งข้อเรียกร้อง จำนวน 42 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 22,313 คน สามารถตกลงกันเองได้ จำนวน 32 แห่ง มีลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16,228 คน การเกิดข้อพิพาทแรงงาน จำนวน 5 แห่ง จำนวนลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3,686 คน เกิดข้อเรียกร้องยังไม่ยุติ จำนวน 5 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2,399 คน
การประกันสังคม
จังหวัดฉะเชิงเทรามีการใช้บริการของกองทุนประกันสังคมประเภทประโยชน์ทดแทน ทั้งสิ้น 384,980 คน พิจารณาตามประเภทของสิทธิประโยชน์ ซึ่งมี 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และกรณีว่างงาน สำหรับประเภทประโยชน์ทดแทนต่างๆที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด3ลำดับแรก ได้แก่ สงเคราะห์บุตร มีผู้ประกันตนใช้บริการ 316,000 ราย รองลงมาได้แก่ เจ็บป่วย 29,937 ราย และ กรณีว่างงาน 21,647 ราย สถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคมที่เป็นสถานพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 1 แห่ง และสถานพยาบาลเอกชน จำนวน 2 แห่ง
การประสบภัยอันตราย
การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องมาจากการทำงาน มีทั้งสิ้น 2,459 คน โดยส่วนใหญ่เป็นการประสบอัตราหรือเจ็บป่วยในสถานประกอบการขนาดกลาง 201 – 500 คน โดยมีลูกจ้าง จำนวน 738 คน คิดเป็นร้อยละ 30.01 รองลงมา ขนาด101 – 200 คน จำนวน 507 คน คิดเป็นร้อยละ 20.62 และขนาด 1,000 คน ขึ้นไป จำนวน 461 คน คิดเป็นร้อยละ 18.75
การเลิกจ้าง
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรารายงานการเลิกจ้าง รายปี 2558 มีสถานประกอบการที่เลิกกิจการทั้งสิ้น จำนวน 17 แห่ง เป็นสถานประกอบการ ขนาด 1 – 4 คน จำนวน 11 แห่ง มีลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้าง จำนวน 14 คน รองลงมาเป็นสถานประกอบการ ขนาด 50 – 99 คน จำนวน 2 แห่ง มีลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้าง จำนวน 163 คน และสถานประกอบการ ขนาด 10 – 19 จำนวน 2 แห่ง ลูกจ้างที่ถูกบอกเลิกจ้าง จำนวน 20 คน
อัตราค่าจ้าง
สำหรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี 2556 มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจากเดิมวันละ 269 บาท เป็นวันละ 300 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 31 บาท เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556