Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดฉะเชิงเทรา

สถานการณ์แรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา รายปี 2555 (มกราคม – ธันวาคม 2555)

pll_content_description

สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแรงงานจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี 2555 (มกราคม – ธันวาคม) มีรายละเอียดสรุป
ได้ดังนี้                                        
สภาพเศรษฐกิจ 
        สภาพเศรษฐกิจจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี 2555 มีรายได้การจัดเก็บภาษีอากรจากภาษีนิติบุคคล 194.44 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 242.75 ล้านบาท และภาษีเฉพาะกิจ 26.05 ล้านบาท
        ภาวะการลงทุน  ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม มีโรงงานอุตสาหกรรม 1,563 โรงงาน เงินทุนจดทะเบียน 227,212,935,097  บาท  จำนวนแรงงาน 116,631 คน มีผู้ประกอบการขอประกอบกิจการโรงงาน จำนวน 2 ราย การขยาย จำนวน 0  ราย เลิกกิจการ 1 ราย โครงการส่งเสริมจาก BOI จำนวน 6 ราย
        การลงทุนที่มีศักยภาพ ได้แก่ การลงทุนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้าและขนส่ง
 
สถานการณ์ด้านแรงงาน
        ประชากรและกำลังแรงงาน  การทำงานของประชากรในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ประชากรผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 584,297 คน เป็นชาย 284,240 คน เป็นหญิง 300,057 คน เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 424,742 คน เป็นชาย 230,679 คน เป็นหญิง 194,063 คน ผู้มีงานทำ 421,368 คน เป็นชาย 228,728 คน เป็นหญิง 192,640 คน
            
       การมีงานทำ   เมื่อพิจารณาจากประเภทอุตสาหกรรมหรือประเภทกิจกรรมของผู้มีงานทำ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา 5 อันดับแรก พบว่า ผู้มีงานทำส่วนใหญ่ประมาณ 143,061 คน หรือร้อยละ 34.0 เป็นผู้ทำงานในสาขาการผลิต รองลงมาคือผู้ทำงานในสาขา เกษตรกรรม การส่าสัตว์และการป่าไม้  มีประมาณ 112,131 คน หรือร้อยละ 26.6 ของผู้มีงานทำผู้ทำงานในสาขาการขายส่ง การขายปลีก   การซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน มีประมาณ 62,909 คน หรือร้อยละ 14.9 ของผู้มีงานทำ ผู้ทำงานในสาขาโรงแรมและอาหาร มีประมาณ 25,230 คน หรือร้อยละ 6.0 ของผู้มีงานทำ ผู้ทำงานในสาขาก่อสร้าง 17,334 คน หรือร้อยละ 4.1 ของผู้มีงานทำ และผู้ทำงานในสาขาการบริหารราชการและป้องกันประเทศ มีประมาณ 12,783 คน หรือร้อยละ 3.0 ของผู้มีงานทำ ที่เหลือกระจายอยู่กระจายอยู่ในสาขาอื่นๆ  
 
      การว่างงาน  ประชากรวัยแรงงานของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นผู้ว่างงานทั้งสิ้นจำนวน 3,374 คน  เป็นชาย จำนวน 1,951 คน (คิดเป็นร้อยละ 57.8) หญิง จำนวน 1,423 คน (คิดเป็นร้อยละ 42.2) อัตราของผู้ว่างงานต่อจำนวนประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงาน พบว่า มีอัตราการว่างงานร้อยละ 0.8 โดยเพศชายมีอัตราการว่างงานมากกว่าเพศหญิง หรือร้อยละ 0.8 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ
      การบริการจัดหางานในประเทศ  นายจ้าง/สถานประกอบการได้แจ้งตำแหน่งงานว่าง จำนวน 865 อัตรา โดยมีผู้ลงทะเบียนสมัครงาน 7,046 คน โดยมีอัตราการบรรจุงานทั้งสิ้น 4,974 อัตรา ส่วนตำแหน่งงานว่างตามระดับการศึกษาที่ตลาดแรงงานต้องการสูงสุด คือ ระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า จำนวน 127 อัตรา สำหรับอาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ มัธยมศึกษา 267 อัตรา (คิดเป็นร้อยละ 30.86) และอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 604 อัตรา (คิดเป็นร้อยละ 69.82)
       แรงงานต่างด้าว ที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตให้ทำงาน  แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่เป็นประเภทที่มีการบันทึกข้อตกลง (MOU) จำนวน 4,187 คน รองลงมา คือ ประเภทส่งเสริมการลงทุน 810 คน   
       แรงงานไทยในต่างประเทศ ในช่วงปี 2555  จังหวัดฉะเชิงเทรามีจำนวนแรงงาน ที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปทำงานต่างประเทศ ทั้งหมด 332 คน จำแนกตามวิธีการเดินทาง พบว่า เดินทางโดยวิธี Re – Entry จำนวน 154 คน นายจ้างพาไปฝึกงาน จำนวน 136 คน และ นายจ้างพาไปทำงาน จำนวน 28 คน  ส่วนแรงงานไทยในจังหวัดฉะเชิงเทราที่ขออนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศ จำแนกตามภูมิภาคที่ไปทำงานมากที่สุดตามลำดับ คือ ภูมิภาคเอเชีย จำนวน 38 คน และภูมิภาคตะวันออกกลาง จำนวน 4 คน ตามลำดับ
       การพัฒนาศักยภาพแรงงาน  การฝึกยกระดับฝีมือแรงงาน มีผู้เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานทั้งสิ้น 6,415 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอาชีพ ธุรกิจและการบริการ จำนวน 5,143 คน มีผู้ที่ผ่านการฝึก จำนวน 5,141 คน (ร้อยละ 80.17) รองลงมา อาชีพ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 653 คน มีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 652 คน (ร้อยละ 10.17) และช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 351 คน มีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 278 คน (ร้อยละ 5.47)  มีผู้สมัครเข้ารับการฝึกเตรียมเข้าทำงาน จำนวน 81 คน กลุ่มอาชีพที่มีผู้มาสมัครมากที่สุด คือ  ช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวน 41 คน มีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 21 คน (ร้อยละ 50.61) รองลงมา ช่างเครื่องกล จำนวน 26 คน มีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 22 คน (ร้อยละ 32.09) และช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 14 คน มีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 12 คน (ร้อยละ 17.28)   ส่วนการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งพบว่าใน ปี 2555 มีผู้เข้ารับการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ทั้งสิ้น 379 คน ซึ่งส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มอาชีพ ช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ จำนวน 296 คน  มีผู้ที่ผ่านการฝึก จำนวน 201 คน (ร้อยละ 78.10) รองลงมา  อาชีพ ช่างเครื่องกล จำนวน 53 คน มีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 53 คน (ร้อยละ 14.02) และช่างอุตสาหกรรม จำนวน 30 คน มีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 4 คน (ร้อยละ 7.9)
        การคุ้มครองแรงงาน ได้มีการตรวจแรงงาน โดยจำแนกตามขนาดสถานประกอบการ  จำนวน 416 แห่ง   มีลูกจ้างผ่านการตรวจ จำนวน 28,295  คน แยกเป็นชาย 12,712 คน หญิง 15,568 คน ซึ่งสถานประกอบการ ที่ได้รับการตรวจเป็นสถานประกอบการขนาดตั้งแต่ 1 คน ถึง 1,000  คนขึ้นไป  โดยสถานประกอบการทุกแห่งที่เข้าตรวจปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน จำนวน 416 แห่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการแนะนำให้ปฏิบัติถูกต้องแล้ว
               
        การตรวจความปลอดภัยในการทำงาน  มีการตรวจความปลอดภัยในสถานประกอบการ จำนวน 227 แห่ง ลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ จำนวน 17,965 คน แยกเป็น ชาย 10,276 คน หญิง 7,689 คน พบว่ามีสถานประกอบการที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายความปลอดภัย จำนวน 227 แห่ง 
       การเกิดข้อเรียกร้อง/ ข้อพิพาทแรงงานและข้อขัดแย้ง จังหวัดฉะเชิงเทราได้รับแจ้ง การแจ้งข้อเรียกร้อง จำนวน 21 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 17,622 คน พนักงานตรวจแรงงานได้วินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์โดยตกลงกันเองได้ จำนวน 8 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7,379 คน การเกิดข้อพิพาทแรงงาน จำนวน 5 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3,528 คน การเกิดข้อเรียกร้องยังไม่ยุติ จำนวน 8 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6,715 คน การเกิดพิพาทแรงงานที่สามารถยุติเกิน 5 วัน จำนวน 4 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง 2,328 คนและการเกิดข้อพิพาทแรงงานยังไม่ยุติ จำนวน 1 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1,200 คน ในการยุติข้อขัดแย้งสามารถตกลงกันได้ จำนวน 1 แห่ง ลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง จำนวน 400 คน
 
        การประกันสังคม จังหวัดฉะเชิงเทรา มีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม  จำนวน 3,994 แห่ง ผู้ประกันตนทั้งสิ้น 200,908 คน และมีสถานพยาบาลในสังกัดประกันสังคม จำนวน 3 แห่ง เป็นของรัฐบาล 1 แห่ง เอกชน 2 แห่ง
        กองทุนประกันสังคม  ผู้ใช้บริการ  จำนวน  84,038 ราย จำนวนเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่ายทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 559,749,627.31 บาท ประเภทประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนใช้บริการสูงสุด ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย มีจำนวน 42,456 คน หรือร้อยละ 50.52 ของผู้ใช้บริการทั้งหมด รองลงมาคือ กรณีสงเคราะห์บุตร24,272 ราย หรือร้อยละ 28.88 และ กรณีว่างงาน จำนวน 10,255 ราย ร้อยละ 12.20 สำหรับปริมาณการจ่ายเงินประโยชน์ทดแทน พบว่าการจ่ายเงินกรณีเจ็บป่วย มีการจ่ายเงินสูงถึง 226,957,426.51 บาท หรือร้อยละ 40.54 ของเงินประโยชน์ทดแทนที่จ่าย รองลงมาเป็นการจ่ายเงินกรณีสงเคราะห์บุตร 119,185,511 บาท คิดเป็นร้อย21.29 และการจ่ายเงินกรณีคลอดบุตร 102,173,800 บาท คิดเป็นร้อยละ 18.25 ตามลำดับ 
 
 
         เมื่อจำแนกตามขนาดสถานประกอบการ พบว่า ขนาดสถานประกอบการน้อยกว่า 10 คน   มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุด คือ 2,303 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 57.66 รองลงมาได้แก่ ขนาด 20 – 49 จำนวน 510 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 12.76 ขนาด 10 – 19 จำนวน 482  แห่ง คิดเป็นร้อยละ 12.06 ขนาด 50 – 99 จำนวน 287 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.18 ขนาด 100 – 199 จำนวน 189 แห่ง  คิดเป็นร้อยละ 4.13 และเมื่อพิจารณาตามจำนวนลูกจ้างจำแนกตามขนาดสถานประกอบการ พบว่า ขนาด 200 – 499  มีจำนวนลูกจ้างมากที่สุด จำนวน 45,141 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 22.46 รองลงมาได้แก่ ขนาด 500 – 999 จำนวน 40,017 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 19.91 ขนาด 1000ขึ้น+ จำนวน 38,757 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 19.21 ขนาด 100 – 199 จำนวน 26,117 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 12.99 และขนาด 50 – 99 จำนวน 10.16
         หากพิจารณาจำนวนลูกจ้างที่อยู่ในกองทุนประกันสังคมจังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามอุตสาหกรรม พบว่า ประเภทอุตสาหกรรมที่มีจำนวนสถานประกอบการสูงสุด 5 อันดับ อันดับที่แรกคือประเภทกิจการอื่น จำนวน 1,089 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 27.26  รองลงมาได้แก่ การค้า จำนวน 912 แห่ง  คิดเป็นร้อยละ 22.83 ผลิตภัณฑ์จากโลหะ จำนวน 394 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 9.86 ผลิต ประกอบยานยนต์ จำนวน 276 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 6.91 และผลิตเคมี น้ำมันปิโตรเลียม จำนวน 274 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 6.86
         ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน (ในกองทุน) ของ ปี 2555 มีจำนวน  540 คน เมื่อพิจารณาการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานตามขนาดของสถานประกอบการ พบว่าสถานประกอบการที่มีการจ้างงาน ตั้งแต่ 500 – 999 มีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานมากที่สุด จำนวน 102 คน (ร้อยละ 18.88 ของลูกจ้างที่ประสบอันตรายทั้งหมด) โดยส่วนใหญ่เป็นการประสบอันตรายที่หยุดงานไม่เกิน 3 วัน รองลงมาได้แก่ สถานประกอบการขนาด 500 – 999 จำนวน 86 คน (ร้อยละ 19.02)  ส่วนการประสบอันตรายที่หยุดงานเกิน 3 วัน ได้แก่ สถานประกอบการขนาด 500 – 999 จำนวน 16 คน (ร้อยละ 18.82)  ลูกจ้างที่ประสบภัยอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานที่หยุดงานไม่เกิน 3 วัน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากวัตถุหรือสิ่งของหรือสารเคมีกระเด็นเข้าตา จำนวน 96 คน (ร้อยละ 21.23) ส่วนลูกจ้างที่หยุดงานเกิน 3 วัน สาเหตุมาจากวัตถุหรือสิ่งของพังทลาย/หล่นทับ จำนวน 21 คน (ร้อยละ 24.70)
ลูกจ้างที่ประสบอันตรายถึงแก่ชีวิตสาเหตุมาจากอุบัติเหตุจากยานพาหนะ จำนวน 2 คน (ร้อยละ66.66)
TOP